.

เตือน!! ใช้โทรศัพท์ขณะฝนฟ้าคะนองอาจถูกฟ้าผ่า และวิธีช่วยเหลือผู้ที่ถูกฟ้าผ่า


ใช้โทรศัพท์มือถือในที่โล่งแจ้ง ขณะฝนฟ้าคะนอง มีโอกาสถูกฟ้าผ่าสูง “เลขาธิการ สพฉ.” สอนการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ด้วยการช่วยฟื้นคืนชีพ ตามจังหวะเพลง เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต ระบุหากอยู่ในที่โล่งแจ้ง ต้องหาทางหลบเข้าอาคารหรือที่ปลอดภัย

อย่าใช้มือถือตอนฝนตก

ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือ ถือเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์จำเป็น ในชีวิตประจำวันของเรา แต่การใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงฤดูฝน ขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนอง และอยู่ในที่โล่งแจ้ง ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการโดนฟ้าผ่าค่อนข้างมาก เพราะการใช้โทรศัพท์มือถือจะเหนี่ยวนำเข้ากระแสไฟฟ้า มายังเสาอากาศขณะมีการใช้งาน เช่นเดียวกันกับโลหะต่างๆ อาทิ ทองคำ เงิน นาก ที่จะกลายเป็นตัวเหนี่ยวนำ กระแสไฟฟ้าก่อให้เกิดฟ้าผ่า

แต่อย่างไรก็ดีไม่ใช่ว่าทุกคน ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ ขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนอง จะต้องโดนฟ้าผ่า เนื่องจากจะต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เหมาะสมด้วย เช่น อยู่ในที่โล่งแจ้ง อยู่ใกล้ต้นไม้สูง หรือก้อนเมฆในบริเวณนั้นมีประจุไฟฟ้าสะสมไว้มากหรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรประมาท และการหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์หรือเล่นอินเตอร์เน็ตซึ่งจะทำให้เราปลอดภัยมากที่สุด

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวถึงการป้องกันการถูกฟ้าผ่าจากการใช้โทรศัพท์ ว่า หากอยู่ในที่โล่งให้หาที่หลบที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงการหลบบริเวณใต้ต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงและไม่ได้ยึดติดกับพื้นอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกล้มทับ หากหาที่หลบไม่ได้ไม่ได้ให้หมอบนั่งยองๆ ให้ตัวอยู่ต่ำที่สุด นอกจากนี้ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งนำไฟฟ้าทุกชนิด อาทิ เงิน ทอง นาค และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สายไฟ หรือสัมผัสน้ำโดยเด็ดขาด

หากพบผู้ป่วยฉุกเฉินที่ถูกฟ้าผ่า ควรปฏิบัติดังนี้
1. รีบโทรแจ้งสายด่วน 1669
2. ให้สังเกตว่า ในบริเวณที่เกิดเหตุยังมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าหรือไม่ ถ้ามีต้องทำการเคลื่อนย้ายผู้ถูกฟ้าผ่าไปยังตำแหน่งที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันตัวเราเองจากการถูฟ้าผ่าซ้ำ
3. เราสามารถแตะต้องตัวผู้ถูกฟ้าผ่าได้ทันที เนื่องจากคนที่ถูกฟ้าผ่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหลงเหลืออยู่ในตัว ดังนั้น จึงไม่ต้องกลัวว่าเราจะถูกไฟฟ้าดูดไปด้วย
4. หากผู้ถูกฟ้าผ่าได้รับบาดเจ็บหมดสติไม่รู้ตัว หัวใจหยุดเต้น และไม่หายใจ ซึ่งสังเกตได้จากอาการที่เกิดขึ้น คือ ริมผีปากเขียว สีหน้าซีดเขียวคล้ำ ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยมากหรือไม่เคลื่อนไหว หัวใจหยุดเต้นจะคลำชีพจรไม่พบ หมดสติไม่รู้สึกตัว ต้องรีบช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ หรือ CPR ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ โดยจัดให้ผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นแข็ง จากนั้นให้ผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่าอยู่ทางด้านข้างของผู้ป่วย
5. วางส้นมือลงไปตามแนวกึ่งกลาง ของหน้าอกหรือกึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้างของผู้ป่วย แล้วนำมืออีกข้างมาประกบ ประสานนิ้ว และทำการล๊อคนิ้ว กระดกข้อมือขึ้นลง โดยให้สันมือสัมผัสกับหน้าอกเท่านั้น จากนั้นโน้มตัวมาให้แนวแขนตั้งฉากกับหน้าอกของผู้ป่วย แขนตรงและดึง ออกแรงกดลงไปโดยใช้แรงจากหัวไหล่ กดให้หน้าอกยุบลงไปอย่างน้อย 5 เซนติเมตร โดยให้สันมือสัมผัสกับหน้าอกผู้ป่วยตลอด ด้วยความเร็ว 100 ครั้งต่อหน้าที

Like & Share This :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *